วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การใช้ประโยชน์จากระบบข้อมูล GIS ทีมีต่อจังหวัดอุบลราชธานี


การใช้ประโยชน์จากระบบข้อมูล GIS ทีมีต่อจังหวัดอุบลราชธานี


ระบบ GIS ของจังหวัดอุบลราชธานีที่นำมาใช้ประโยชน์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในด้านการผังเมือง ด้านการการป้องกันอุบัติภัย ด้านการพัฒนาชุมชน ด้านสวนสาธารณะ ด้านอนามัย ด้านการศึกษา ด้านภาษีท้องถิ่น ด้านการรักษาความสะอาด ด้านการระบายน้ำ ด้านพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาอาชญากรรม ด้านการรับเรื่องราวร้องทุกข์ และประโยชน์ในด้านการพัฒนาอื่นๆ ได้อีกมาก

ประโยชน์ที่จะได้รับหากจังหวัดอุบลราชธานีได้นำระบบ GIS เข้ามาใช้

1  ด้านการพังเมือง
การวางแผนผังเมือง การใช้ประโยชน์ที่ดินสิ่งปลูกสร้างต่างๆ เช่น ถนน เขื่อน คลอง การตรวจสอบการเคลื่อนย้ายถิ่นฐานของประชากร การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ การวางผังเมือง การวิเคราะห์ด้านอาชญากรรม ที่ดินและภาษีที่ดิน ระบบการระบายน้ำเสีย โครงการพัฒนาที่อยู่อาศัย ฯลฯ
2  ด้านป้องกันอุบัติภัย
การบรรเทาสาธารณะภัย ตรวจสอบจุดเกินเหตุเพื่อที่จะทำการช่วยเหลือได้ทัน การติดตามการปนเปื้อนของสารพิษ 
3  ด้านพัฒนาชุมชน
การจัดการระบบชลประทาน การพัฒนาและจัดการที่ดินเพื่อการเกษตร การจัดการด้านไฟฟ้า ประปา 
4  ด้านสวนสาธารณะ
การสำรวจแหล่งชุมชล เพื่อจัดที่สวนสวนสาธารณะ ให้เพียงพอกับจำนวนชุมชล เพื่อสุขภาพคนในจังหวัด
                5   การเดินทาง
แสดงแผนที่ เส้นทาง จุดสำคัญในการเดินทาง เป็นประโยชน์ต่อการท่องเที่ยว
6  ด้านการท่องเทียว
ใช้ GIS สนับสนุน การบอกพิกัดแหล่งที่เที่ยวในบริเวณจังหวัดอุบลราชธานีและบอกสภาพสถานที่ท่องเที่ยวแต่ล่ะแหล่งเพื่อช่วยในการเตรียมตัวของนักท่องเทียวก่อนที่จะเดือนทางไปตามสถานที่ต้องการ
7  ด้านอนามัย
 เพื่อดูการแพร่ขยายของโรคระบาดต่างๆ ทั้งคนและสัตว์ เช่น ไข้หวัด
8  ด้านกานศึกษา
การใช้ GIS ช่วยในการสำรวจข้อมูลนักศึกษาที่เข้าศึกษาเพื่อประโยชน์ในการติดตามนักเรียนนักศึกษา และได้ข้อมูลจำนวนประชากรแต่ล่ะพื่นที่ที่เข้ามารับการศึกษา
9  ด้านภาษีท้องถิ่น
การใช้ GIS เพื่อช่วยในการจัดเก็บภาษี โดยอาศัยข้อมูลแผนที่ ซึ่งสามารถมองเห็นถึงบริเวณของอาคาร บ้านเรือน เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลเสียระภาษีอากร ซึ่งสามารถติดตาม ตรวจสอบผลได้สะดวก เพราะ ข้อมูลของสถานประกอบการ บ้านเรือน อาคาร บริษัท ที่ชำระค่าภาษีอากรต่างๆ ทำให้สามารถค้นหา หรือติดตามการชำระภาษีอากรได้สะดวก และทำให้การจัดเก็บภาษีมีประสิทธิภาพมากขึ้น
10  ด้านรักษาความสะอาด
              ใช้ระบบ GIS สำรวจแหล่งชุมชนขนาดใหญ่เพื่อที่จะจัดถังขยะ รถเก็บขยะ ที่จะเข้าไปเก็บแต่ล่ะพื้นที่ เพื่อไม่ให้มีขยะล้นเหลือ และหาบริเวณที่จะทำรายขยะนั้นโดยไม่กะทบกับชุมชน
11  ด้านการระบายน้ำ
การวางแผนการวางระบบน้ำไหล เช่น หาจุดที่จะสร้าง โครงการแก้มลิง เพื่อแก่ปัญหาอุทกภัย ได้ถูกจุด
12   ด้านการรับเรื่องราวร้องทุกข์
                การรู้บริเวณที่เกินเรื่องร้องทุกข์ เพื่อเป็นข้อมูลช่วยในการตัดสินใจ ในการเข้าช่วยเหลือ
13   ด้านโบราณคดี
                เช่นการสำรวจอุทยานประวัติศาสตร์ ของจังหวัดเพื่อเชื่อมโยงกับข้อมูลในอดีต
 14   การวิเคราะห์ด้านตลาด
การหาทำเลที่เหมาะสมในการขายสินค้า ขยายสาขา สำนักงาน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น